ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2

ผู้ศึกษา       นางสาวอรวรรณ  บัวแสนวงศ์วัฒนา

หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี

ปีที่วิจัย       2561

 

บทคัดย่อ

 

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาแบบองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2  ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1  (บ้านโพธิ์กลาง)  สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร  อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 37 คน  ได้มาโดยวิธีการจับสลาก การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา  แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1  การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน,  ระยะที่ 2  การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2, ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2, ระยะที่ 4  การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ (1)  แบบสอบถามครูผู้สอนปฐมวัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2   (2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนปฐมวัย  เรื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  (3) แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  (1) คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวัดทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  (3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent Samples  และการวิเคราะห์เนื้อหา  (content analysis)

ผลวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษา และข้อมูลทักษะภาษาแบบองค์รวมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าการจัดประสบการณ์            การเรียนรู้แบบ ACARA  เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษา  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ยังมีปัญหาที่ต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก การกำหนดนิยามพฤติกรรมบ่งชี้ในองค์ประกอบของทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  พบว่าทักษะทางภาษาควรประกอบด้วย ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน  ได้แก่  ด้านการฟัง  ด้านการพูด  ด้านการอ่านและด้านการเขียน สำหรับแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษาแบบองค์รวม ควรจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับผู้เรียน  ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลาย  ให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล  เพื่อจะได้เรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทาย จูงใจให้ร่วมปฏิบัติ และสามารถประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง  ส่วนแนวทางการพัฒนาทักษะทางภาษาแบบองค์รวมของผู้เรียนให้บรรลุผลนั้น  ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้  โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสนับสนุน  ได้แก่  กรอบแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวก็อตสกี้  แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  แนวการสอนแบบภาษาธรรมชาติ  แนวทางการจัดประสบการร์ของเรกจิโอเมีเลีย และแนวคิดการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป
  2. การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีองค์ประกอบ  ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และ 4)  การวัดและประเมินผลโดยมีกระบวนการการจัดประสบการณ์   การเรียนรู้ตามขั้นตอน  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Arouse interest : A)  2)  ขั้นเผชิญสถานการณ์ (Confrontation of events : C)  3)  ขั้นเรียนรู้  (Acting Learning : A)  4)  ขั้นทบทวน  (Review : R)  และ 5)  ขั้นการประยุกต์ใช้และประเมินผล (Application and assessment : A)  ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ  พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  3. การทดลองรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  พบว่า  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  ในขั้นที่ 3  ขั้นการเรียนรู้            มีข้อบกพร่องในเรื่องเด็กไม่กล้าตัดสินใจในการใช้ภาษาสื่อความหมาย และการถ่ายทอดความสามารถทางภาษาผ่านผลงานศิลปะ ผู้วิจัยต้องแก้ไขปรับปรุงให้มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป
  4. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  พบว่า  1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวัดทักษะทางภาษาแบบองค์รวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  2)  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแบบ ACARA  สำหรับเด็กปฐมวัย              ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  โดยรวมอยู่ในระดับมากและ           3)  ความคิดเห็นของครูปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ACARA  สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2    โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

 

 

  นางสาวอรวรรณ  บัวแสนวงศ์วัฒนา

  โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี