หัวข้อการวิจัย                              การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เรื่องศาสนาในประเทศไทย 

ผู้วิจัย                                         นางสาวสุรีรัตน์ สุพรรณนนท์

ตำแหน่ง                                      ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

ปีที่วิจัย                                        2560


  

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องศาสนาในประเทศไทย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องศาสนาในประเทศไทย ที่พัฒนาขึ้น

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาใน        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย จำนวน 8 ชุด เวลา       16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 30 ข้อ

            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น          ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ  ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ทดสอบความมีนัยสำคัญความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนและหลังการทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูป (t – test) โดยใช้สูตร t-Dependent

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย พบว่ามีค่าเป็น 82.75/87.89 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
  2. คะแนนหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01