เรื่อง              การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้

                      ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย         กีรตยา นิยมคุณ

ปีการศึกษา      2561

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 3.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน หลังการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้รูปแบบการเรียน              การสอน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา           ปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาล 1      (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร    3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบสอบถามความต้องการของนักเรียน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 6) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 7) แบบประเมินทักษะการอ่าน  8) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 9) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

1.1 ผลการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตัวชี้วัด และมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

1.2 ผลการสัมภาษณ์ครูวิชาการ และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนและเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน สรุปข้อมูลสอดคล้องกัน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนควรมีลักษณะที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อนตั้งแต่เริ่มแรก และพัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลาย โดยสรุปเป็นแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการสอนที่สามารถสนองความต้องการของผู้เรียน โดยต้องมีการสอบถามความต้องการของผู้เรียนจะทำให้ทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริง เนื้อหาที่สอนควรเป็นเนื้อหาที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทันสมัย กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน และผู้เรียนต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน และทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารภาษาอังกฤษคือทักษะการอ่าน

1.3 ผลการสอบถามความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการและความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา พบว่า ความต้องความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

  1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าได้รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ขั้นตอน (ICPAE MODEL) ได้แก่ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นกล่าวนำ (Introduction : I) 2) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Constructionism : C) 3) ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (Precision : P) 4) ขั้นที่ 4 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ (Adaptation : A) 5) ขั้นที่ 5 ขั้นให้แบบฝึกหัดและตรวจผลงาน (Exercise and Progress : E) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 84.03/82.22 ซึ่งเป้นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า

3.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3.2 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 89.74 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  1. การประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการให้ภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

 


 

 

Research Title : The Development of Constructivism Theory and Task-Based

                        Learning Model to Enhance the English Reading Comprehension

                        Skill of Mattayomsuksa 2

Author :             Mrs. Keerataya Niyomkhun

Organization:      Tessaban 1 (Ban Phoklang) School, Phibunmansahan Municipality

Year :                2018

 

Abstract

 

This research aimed to 1) investigate the study of current stage in The Development of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to enhance the English-Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa 2, 2) develop Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to enhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa 2 according to the 80/80 criterion, and 3) determine the effectiveness of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to enhance the English-Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa 2. The objectives of this research were specified into three. First was to compare the academic achievement of students before and after study using The Constructivism Theory and Task-Based Learning Model. Second was to study student achievement  By using the teaching model according to the theory of knowledge creation together with the workload  To promote English reading skills for understanding  Of mathayom suksa two students between before and after learning, and lastly was to evaluate the effect of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to emhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa 2. The samples used in the trial were the 39 Mattayomsuksa 2/4 students of Tedsaban School 1 (Ban Phoklang) during the first semester of the school year 2018. They were derived by a cluster random sampling. The research instruments consisted of: 1) the learning management plan, 2) the data analysis sheets, 3) the interviewer, 4) the questionnaires used for surveying the subjects’ opinions, 5) the pre-test and post-test, 6) Skill development exercises on reading achievement, 7) Skill exercises on reading evaluation, 8) the questionnaire for students’ satisfaction, and 9) Effectiveness of model evaluation.

Data were analyzed by means of frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test and content analysis.

The research findings were as follows:

1) The study of current stage in The Development of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to Enhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa Two Students found out the following:

1.1) The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) were aimed at allowing learners to develop themselves to their highest potentiality, thus becoming well-rounded and fully developed in all respects—physical, intellectual, emotional and social; inculcating of morality, ethics and self-discipline; creating and strengthening spirit of philanthropy for social benefits; ability for self-management and enjoying happy life among others.

1.2) Teachers’ interview on reading model stated that it should be easy to learn and must have a variety of activities. The teaching model should encourage learners to participate in knowledge creation, motivate learners to need it in daily life for the students to use their learning skills in real life situations. Thus, one of the most important skills for communication is the reading skill.

1.3) The satisfaction of Matthayomsuksa 2  was the interest of text which is at the highest level.

2) The Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to Enhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa Two was the ICPAE Model which is consisted of 5 steps: I-Introduction; C- Constructionism; P-Precision; A-Adaptation and the last; E- Exercise and Progress. The model had an efficiency of 84.03/82.22. The result was acquired according the set 80/80 criterion.

3) The specificic objectives of the Effectiveness of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to Enhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa Two Students were:

3.1) The academic achievement of students was higher than before with a statistical significance of .05.

3.2) Students have scores in reading ability in English.  Passed the criteria of 80 percent of the total score of 30 points, consisting of 35 students, accounting for 89.74 percent of the total number of student.

3.3) The satisfaction of the students in the study towards the Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to enhance the reading comprehension skill was averaged at the highest level.

4) The model evaluation of Constructivism Theory and Task-Based Learning Model to Enhance the English Reading Comprehension Skill of Mattayomsuksa Two Students was averaged at the highest level.

 


 

นางกีรตยา นิยมคุณ

ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านโพธิ์กลาง)

โทรศัพท์ : 094-5753337 E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.