ชื่อวิจัย  การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้   คณิตศาสตร์

ผู้วิจัย   นางจุไรรัตน์  สร้อยมาลุน

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหา เรื่อง บทประยุกต์  โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพื้นฐาน เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่งผู้วิจัยนำข้อค้นพบที่สำคัญมาสรุปพอสังเขป ดังนี้

  1. ผลการศึกษาแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พบว่า รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) เนื้อหาสาระของรูปแบบการสอน 4) กิจกรรมและกระบวนการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล ส่วน Joyce & Weil กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบ การสอนมี 4 ประการ คือ ขั้นตอนการสอนตามรูปแบบการสอน (Syntax) หลักการของการปฏิสัมพันธ์ (Social System) หลักการของการตอบสนอง (Principles of Reaction) ระบบการสนับสนุนการเรียนการสอน (Support System) และเมื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปัญหา การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง
  2. การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พบว่า ขั้นตอนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 6 ขั้นตอน เรียกรูปแบบที่พัฒนาขึ้นว่า OPASPA Model โดยมีรายละเอียดดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Orientation) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอปัญหา (Problem Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)  ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing)  ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกทักษะ (Practice) ขั้นที่ 6 นำไปใช้ (Application)  ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนเท่ากับ 83.94/84.32 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75/75 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
  4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด

 

 

 

 

นางจุไรรัตน์  สร้อยมาลุน

ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

ติดต่อผู้วิจัย Tel. 089-7224128